ศูนย์รวมอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร

One Stop Service Station Electronics

 

ค้นหาสินค้า พิมพ์เบอร์หรือชื่อแล้วกดค้นหา

 

 

ไอซี555
  • 19 มกราคม 2017 at 06:38
  • 11153
  • 0

ไอซี 555 (IC 555)

ไอซี 555 จัดเป็นไอซีประเภทไทเมอร์ มันสามารถนำไปใช้งานได้อย่างกว้างขวางและหลากหลายรูปแบบ

แต่ส่วนใหญ่จะใช้ในวงจรประเภท โมโนสเตเบิ้ล และ อะสเตเบิ้ล

 

 

มัลติไวรเบรเตอร์ (Multivibrator) 

เป็นวงจรทางอิเล็กทรอนิคส์ทำหน้าที่ได้หลากหลายลักษณะเช่นเป็นวงจรกำเนิดความถี่คลื่นสี่เหลี่ยม

เป็นวงจรสวิตช์อิเล็กทรอนิคส์และอื่นๆการทำงานของวงจรมัลติไวเบรเตอร์

มีทั้งทำงานได้ด้วยตนเองและแบบต้องมีสัญญาณมากระตุ้นวงจรมัลติไวเบรเตอร์

แบ่งออกได้ 3 ชนิดคือ

 

 1. อะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ (Astable Multivibrator)

 

      หรือมัลติไวเบรเตอร์แบบไม่เสถียร เป็นวงจรที่ทำงานได้ด้วยตัวเองทำหน้าที่คล้ายกับวงจรกำเนิดความถี่โดยที่ตัวเองสามารถทำงานและหยุด   ทำงานสลับกันไปมาตลอดเวลา วงจรกำเนิดสัญญาณโดยใช้ไอซี 555 หรือวงจรอะสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ (Astable Multivibrator) การทำงานของวงจรต้องใช้ R และ C ต่อร่วมกับไอซี 555 เล็กน้อยเช่นกันลักษณะการต่อวงจร R และ C แตกต่างไปจากวงจรตั้งเวลาเพราะวงจรทำหน้าที่คล้ายวงจรกำเนิดความถี่ โดยตัววงจรเองสามารถทำงานและหยุดทำงานได้ด้วยตัวเองการทำงานจะสลับกันไปมาตลอดเวลา วงจรทำงานไม่จำเป็นต้องมีสัญญาณป้อนเข้ามากระตุ้นวงจรกำเนิดสัญญาณใช้ไอซี 555 

2. โมโนสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ (Monostable Multivibrator)

 

     หรือมัลติไวเบรเตอร์แบบเอกเสถียร เป็นวงจรที่ในการเปลี่ยนแปลงการทำงานจะต้องมีสัญญาณอินพุตมากระตุ้นการทำงานโดยปกติการทำงานของวงจรแต่ละครั้งทำงานเพียงสภาวะเดียวและจะเปลี่ยนสภาวะเมื่อมีสัญญาณอินพุตมากระตุ้นและจะคงสภาวะนั้นไปชั่วขณะตามค่า RC ในวงจรคือ T เท่ากับ 1.1 RC และจะกลับมาสภาวะเดิมเวลาชั่วขณะดังกล่าวจะกำหนดโดยค่า RC ที่กำหนดในวงจรเรียกอีกชื่อว่าวันชอตมัลติไวเบรเตอร์ (One-Shot Multivibrator) สามารถทำเป็นวงจรหน่วงเวลาหรือวงจรตั้งเวลา

3. ไบสเตเบิลมัลติไวเบรเตอร์ (Bistable Multiviblator)

     หรือมัลติไวเบรเตอร์แบบทวิเสถียร เป็นวงจรที่มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานโดยต้องมีสัญญาณมากระตุ้นที่อินพุตทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและจะคงสภาวะนั้นไปตลอดจนกว่าจะมีสัญญาณมากระต้นอินพุตอีกครั้งจึงจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งสภาวะนี้จะคงที่ไปตลอดจนกว่าจะมีสัญญาณมากระตุ้นอินพุตใหม่เรียกอีกชื่อว่าฟลิปฟล็อป (Flip-Flop) 

 

 

 

สยาม   ดิลกธรรมานุกูล

วศ.บ. (วิศวกรรมไฟฟ้า) มหาวิทยาลัยธนบุรี

 

 

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2